ตู้เชื่อม หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า นั้นเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่างทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งเป็นเครื่องมือช่างที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นงานตัด งานเชื่อม ซึ่งสามารถช่วยในการทำงานให้รวดเร็วเเละประหยัดเวลามากขึ้น ซึ่งตู้เชื่อมไฟฟ้าเเต่ละประเภทนั้นจะมีความเเตกต่างกันนออกไปวันนี้ TalayTools จะพามาดูว่าเเต่ละประเภทเเตกต่างกันอย่างไร ?


ตู้เชื่อม หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้านั้นจะมีความเเตกต่างดังนี้

ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเลือกเครื่องเชื่อม เเละการใช้งานอย่างมืออาชีพ ที่บอกถึงประสิทธิภาพเเละความสามารถของกระเเสไฟที่ต้องใช้ขอบเขต เเละขอกำหนดในการใช้งาน เพื่อให้ช่างเชื่อมได้ทุกท่านเข้าใจ เเละนำเครื่องมาใช้ได้อย่างมือโปร

  1. ตู้เชื่อมเเละเครื่องเชื่อมไฟฟ้าเเบบ MMA/ARC

เป็นเครื่องเชื่อม ที่มีความเร็วในการทำงานในขณะเชื่อมที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนตู้เเบบ MMA/ARC นั้นจะมีราคาค่อนข้างถูก ซึ่งจะเหมาะสมกับงานที่ไม่หนักมาก เพราะตู้เชื่อมจะมีเเนวเชื่อมที่มีความสวยงามค่อยข้างจะน้อย จึงไม่เหมาะกับงานที่เน้นความสวยงาม ประสิทธิภาพในการใช้งานนั้น สามารถใช้เชื่อมได้บางชนิดเท่านั้น เเต่การเชื่อมของ ตู้เชื่อมเเบบ MMA/ARC นั้นจะเชื่อมง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะในการเชื่อที่มาก ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน อุปกรณ์ไม่ซับซ้อน การเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ ด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือ กระบวนการต่อโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อน ที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน

  • เป็นตู้เชื่อม ที่ใช้ความเร็วใยขณะทำการเชื่อมปานกาลาง
  • เเนวเชื่อมมีการสวยงามน้อย
  • ใช้เวลาในการติดตั้งน้อย อุปกรณ์ไม่ซับซ้อน
  • เชื่อมง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะในการเชื่อมมาก
  • สามารถเชื่อมวัสดุชิ้นงานได้บางชนิด
  • เครื่องมือที่ใช้ราคาไม่สูงเมื่อเราเปรียบเทียบกับราคาเครื่องเเละอุปกรณ์ ไม่รวมวัสดุสิ้นเปลือง

MMA จะเหมาะกับการเชื่อมที่เน้นการเชื่อมกับเหล็กเป็นหลัก สำหรับอลูมิเนียม เเละสเเตนเลสก็สามารถเชื่อมได้เหมือนกัน

กระแสไฟสลับ (AC)

การเชื่อมไฟฟ้านั้นเครื่องเชื่อมจะเป็นตัวจ่ายกระแสไฟสลับ ซึ่งเป็นกระแสไฟที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ สลับกันเป็นคลื่น (wave) โดยใน 1 ไซเคิล จะมีกระแสผ่าน 0 จานวน 2 ครั้ง ผ่านคลื่นบวก 1 ครั้ง และผ่านคลื่นลบ 1 ครั้ง ในช่วงของคลื่นบวก อีเลคตรอนจะไหลไปในทิศทางหนึ่ง และในช่วงคลื่นลบ อีเลคตรอนจะไหลในทิศทางที่ตรงข้ามกันที่ไหลในช่วงคลื่นบวก กระแสไฟปกติจะมีความถี่ 50 ไซเคิิล ซึ่งหมายความว่าใน 1 วินาทีจะเกิดไซเคิิลดังกล่าว 50 ครั้ง

กระแสไฟตรง (DC)

เป็นกระแสที่มีอีเลคตรอนเคลื่อนที่ในทิศทางตามยาวของตัวนำไป ทิศทางเดียวกันเท่านั้น ซึ่งการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนนั้นเปรียบเสมือนน้าประปาที่ไหลในท่อ กระแสไฟฟ้าสลับมีการเปลี่ยนขั้ว 100 ครั้งต่อวินาที (50 ไซเกิล) แต่กระแสไฟฟ้าตรงจะไหลจากขั้วหนึ่ง ไปตลอด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงขั้ว ดังภาพ และสามารถเปลี่ยนกระแสไฟสลับเป็นกระแสตรงได้ โดยใช้เครื่องเรียงกระแส ประกอบด้วยไฟตรงต่อขั้นตรงกันไฟตรงต่อกลับขั้นรวมกันไว้ และจะเห็นว่าช่วงที่กระแสผ่าน 0 เปลวอาร์กจะดับลง

ไฟกระแสตรง ต่อขั้วลบ

เป็นวงจรเชื่อมที่มีลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ (-) และชิ้นงานเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) อีเลคตรอนจะวิ่งจากลวดเชื่อม เข้าหาชิ้นงาน จึงทาให้ชิ้นงานมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของความร้อนที่เกิดจากการอาร์กทั้งหมด จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมด้วย ลวดเชื่อมเปลือย

2. ตู้เชื่อมเเละเครื่องเชื่อมเเบบ MIG/CO2

เป็นตู้เชื่อมที่ความสามารถในการเชื่อมค่อนข้างสูง มีความชำนาญในเชื่อม ตู้เชื่อมเเบบ CO2/MIG นั้นจะใช้ความเร็วในการเชื่อมสูง จะมีเเนวเชื่อมที่มีความสวยงามในระดับปานกลาง สามารถเชื่อมได้ทั้งเหล็ก สเเตนเลสเเละอลูมิเนียม สามารถเชื่อมวัสดุหรือชิ้นงานได้บางชนิดเท่านั้น ซึ่งราคาเครื่องมือเเละอุปกรณืของตู้เชื่อม นั้นจะมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบจากเครื่องมือเเละอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งไม่รวมอุปกรณืที่มีความสิ้นเปลืองของตู้เชื่อมเเบบ CO2/MIG

ระบบ MIG จะเหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็กที่ต้องการความรวมเร็ว เเข็งเเรง เเละมีประสิทธิภาพมนการเชื่อมสูง สามารถเชื่อมอลูมิเนียมเเละสเเตนเลสได้ด้วย

3. ตู้เชื่อมอาร์กอนหรือเครื่องเชื่อม TIG

จะเป็นตู้เชื่อมที่เป็น 2 ระบบ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมเเบบตู้เชื่อมอาร์กอนเละเชื่อมในรูปเเบบของก้านธูป เชื่อมเหล็กทั่วไป ซึ่งตู้เชื่อมประเภทนี้จะมีรอยเชื่อมที่มีความสวยงามค่อยข้างสูง เเต่จะใช้เวลาในการเชื่อมค่อนข้างนาน เเละต้องใช้ทักษะในการเชื่อมที่ชำนาญในระดับสูง ตู้เชื่อมนี้สามารถเชื่อมได้หลายชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองเเดง ชิ้นงานเเต่ละชิ้นงานจะมีคุณภาพสูง ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ เเละที่สำคัญสามารถเชื่อมวัสดุที่มีความบางได้อย่างมีประสิทธิที่สูง เครื่องมือเเละอุปจะมีราคาที่สูงกว่า ตู้เชื่อมเเละเครื่องมือเชื่อมประเภทอื่นๆ

AC คือ เครื่องเชื่อมระบบที่ใช้กับการเชื่อมอะลูมิเนียมซื่งเครื่องเล็กจะมี 2 ระบบและ 3 ระบบ 2 ระบบ คือ การเชื่อมอะลูมิเนียมกับเชื่อมอาร์กอน ส่วน 3 ระบบก็คือ เชื่อมอะลูมิเนียม เชื่อมอาร์กอน และเชื่อมเหล็ก การที่จะเลือกเครื่องเชื่อม ถ้าเราเป็นช่าง ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่มี Am ตั้งแต่ 200Am ขึ้นไป และต้องเป็น 200Amจริง เพราะมีบางยี่ห้อใช้ 160Am แล้วจูนปรับเปลี่ยนให้เป็น 200Am ซึ่งผู้ซื่ออย่างเราอาจจะไม่รู้ เราเป็นช่างควรซื้อตั้งแต่ 200AMนะครับ ราคาแตกต่างกันนิดเดียว

เครื่องเชื่อมระบบ AC/DC นั่นเอง ช่างโดยทั่วไปเข้าใจผิดว่า 2 ระบบเสียง่าย 3 ระบบเสียง่าย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะคนขายไม่ได้อธิบายรายละเอียดการใช้ หรือไปพบแต่เครื่องคุณภาพต่ำ เลยเข้าใจผิดไปกันใหญ่ เครื่องเชื่อมที่มี 2 ระบบ ก็จะมีสวิตช์ เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว+สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว- แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และ สายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน ซึ่งคนขายบางคนไม่รู้และไม่เข้าใจก็เลยไม่อธิบายให้คนใช้ฟัง คนใช้พอมาใช้แล้วก็เลยเข้าใจผิดว่าเสีย เชื่อมไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้วเครื่องไม่เป็นอะไรเลยครับ จะอยู่ที่เราใช้ไม่เข้าใจ คนขายบางคนก็ไม่เข้าใจและอธิบายไม่ถูก ส่วนเครืองระบบ AC/DC

ระบบการเชื่อมเเบบ TIG สามารถเชื่อมวัสดุได้หลากหลาย ให้ความเเข็งเเรงสูง เเต่ความเร็วในการเชื่อมนั้นค่อนข้างต่ำ

**ดังนั้นตู้เชื่อมประเภทจะเหมาะสมกับงานที่มีความละเอียดเเละความสวยงามในการเชื่อม เเต่ต้องมีประสมการณ์เชื่อมที่สูง