“ตู้เชื่อมไฟฟ้า” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่างที่พี่ช่างควรมีติดตัวไว้ เพราะมีประโยชน์ต่องานหลากหลายประเภท ทั้งใช้เชื่อมงานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งงานโครงสร้างเหล็ก งานสแตนเลส อลูมิเนียม และมีข้อดีหลายข้อ คือ ทำงานเชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก และมีราคาไม่สูงจนเกินไป ปัจจุบันมีตู้เชื่อมไฟฟ้าหลากหลายแบบและแบรนด์ โกลบอลเฮ้าส์มีเคล็ดลับการเลือกตู้เชื่อมไฟฟ้ามาแนะนำกันก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

1. ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด

   ในการเลือกซื้อตู้เชื่อมไฟฟ้า สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง คือ พิจารณาลักษณะการใช้งานของตัวเองเสียก่อน ตู้เชื่อมมีทั้งแบบไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

  • ตู้เชื่อมระบบไฟฟ้ากระแสสลับ มีระบบการทำงานที่การไหลของกระแสไฟฟ้ามีการสลับกันไปมาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบในวงจรไฟฟ้า และใช้ทรานฟอร์มเมอร์แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงาน ซึ่งข้อดีของตู้เชื่อมไฟฟ้าประเภทนี้คือ สามารถปรับกระแสสูงต่ำได้ตามความต้องการ
  • ตู้เชื่อมระบบไฟฟ้ากระแสตรง มีระบบการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้าที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือจากขั้วไฟฟ้าขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง เหมาะสำหรับงานเชื่อมโลหะที่ต้องการให้แนวเชื่อมแนบสนิทกันมากที่สุด

2.เลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ มีการรับประกัน

   ปัจจุบันตู้เชื่อมไฟฟ้าในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อให้เลือก ดังนั้นควรพิจารณาแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และควรเลือกแบบที่มีการรับประกันอย่างน้อย 1 ปี เพื่อความสะดวกในการซ่อมแซมเมื่อตัวเครื่องมีปัญหา

3. ตัวเครื่องผลิตด้วยวัสดุทนทาน แข็งแรง

   ตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ดี มีคุณภาพ ควรผลิตจากวัสดุที่คงทน แข็งแรง ตัวทรานซิสเตอร์มอสเฟสที่ใช้ ควรหาซื้อได้ง่ายๆ มีขายทั่วไป  ตัวสวิทช์เปิดปิดควรมีความทนทาน เพราะเป็นส่วนที่ต้องมีการเปิดปิดบ่อยครั้ง

                เครื่องเชื่อมเป็นอุปกรณ์ช่างที่ราคาสูง ดังนั้นควรดูแลรักษาให้ถูกวิธีทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่า โกลบอลเฮ้าส์มีเคล็ดลับการดูแลรักษาตู้เชื่อมไฟฟ้ามาฝากกัน หมั่นตรวจระดับและความชื้นของน้ำมันหล่อเย็นในหม้อแปลงอยู่เสมอ และทำความสะอาดเศษฝุ่นและผงละอองต่างๆ ทุกครั้งก่อนหรือหลังใช้งาน เก็บตู้เชื่อมไฟฟ้าไว้ในห้องหรือตู้ที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนหรือชื้นอับจนเกินไป เพราะอาจทำให้ตัวเครื่องมีปัญหาได้ ขณะใช้งานควรตรวจสอบด้วยเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เพื่อเช็คว่ากระแสไฟฟ้าไม่เกินพิกัดของเครื่องเชื่อมและสายเชื่อม รวมทั้งตรวจสอบสายต่อภายนอกเครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอหากเครื่องมีปัญหา ควรหยุดใช้งานเครื่องทันที และส่งให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมแซม ไม่ควรแกะซ่อมด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ตัวเครื่องขัดข้องมากกว่าเดิม

4.ประเภทเครื่องที่เหมาะกับงาน

4.1 เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding)

เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ เป็นกระบวนการโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์(Electrode)กับชิ้นงาน ซึ่งเครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม

ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก

เครื่องเชื่อม MMA

ข้อดี

  • เชื่อมได้เร็ว
  • เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส
  • พกพาสะดวก/ราคาประหยัด

ข้อเสีย

  • ควันมาก
  • ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง
  • ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ

4.2 เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW)

เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) หรือเครื่องเชื่อมอาร์กอน เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉี่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (รวมถึงชิ้นงานที่บางๆ)

ตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC

ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน

เครื่องเชื่อม TIG

ข้อดี

  • การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม
  • ความแข็งแรงของแนวเชื่อม
  • สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ

ข้อเสีย

  • เชื่อมได้ช้า
  • ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม
  • การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน

4.3 เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas)

เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมคาร์บอน(CO2) เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้การป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้แก๊ส CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน หากจะเชื่อมอลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานทุกประเภท

เครื่องเชื่อมแบบMIG

ข้อดี

  • เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว
  • การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ

4.4 เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma)

เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) เป็นเครื่องตัดที่ต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้าส่งไปที่ลมที่มีความเร็วตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสม่า (Solid liquid gas plasma) ลมพลาสม่าผลักออกไปตัดชิ้นงาน เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลสและอลูมิเนียมตามลำดับ

เครื่องตัดพลาสม่า

ข้อดี

  • สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย
  • สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย

ข้อเสีย

  • ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel
  • คุณภาพงานต้องขึนกับความชํานาญของผู้ใช้
  • เครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองบ่อย

5. กำลังไฟเครื่องเชื่อม (Current Range)

การเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน