get in touch
เครื่องมือช่าง
ของแท้ 100%
เครื่องมือช่างมากมาย ราคาคุ้มค่า รับประกันสินค้าของแท้ทุกชิ้น
เรื่องล่าสุด
ประเภทของ ตู้เชื่อม
ประเภทของ ตู้เชื่อม
TALAYTOOL ขอนำความรู้เรื่องตู้เชื่อมแต่ละแบบมาให้ลูกค้าอ่านกันนะครับ
- ตู้เชื่อม TIG
- ตู้เชื่อม ARC
- ตู้เชื่อม MIG
- เครื่องตัด CUT
เพราะมีหลายคนที่ไม่เข้าใจ และสอบถามเข้ามามากว่าเป็นอย่างไร จะอธิบายให้โดยทั่วไป คนที่รู้แล้วก็อย่าว่ากันนะครับ
- ตู้เชื่อม TIG หรือที่เราเรียกว่า เครื่องเชื่อมอาร์กอน นั่นเอง เครื่องเชื่อม TIG ก็มีทั้งเชื่อมอาร์กอนอย่างเดียวและเชื่อมได้ 2 อย่าง คือ เชื่อมอาร์กอน และ เชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกว่าเชื่อมเหล็ก (จะอธิบายอีกที) และ3 คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูปและเชื่อมอลูมิเนียม(คือระบบAC)ที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า เครื่องเชื่อมระบบ AC/DC นั่นเอง ช่างโดยทั่วไปเข้าใจผิดว่า 2ระบบเสียง่าย 3ระบบเสียง่าย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะคนขายไม่ได้อธิบายรายละเอียดการใช้ หรือไปพบแต่เครื่องคุณภาพต่ำ เลยเข้าใจผิดไปกันใหญ่ เครื่องเชื่อมที่มี2ระบบ ก็จะมีสวิตช์ เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว+สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว- แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ(-)และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก(+)แทน ซึ่งคนขายบางคนไม่รู้และไม่เข้าใจก็เลยไม่อธิบายให้คนใช้ฟัง คนใช้พอมาใช้แล้วก็เลยเข้าใจผิดว่าเสีย เชื่อมไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้วเครื่องไม่เป็นอะไรเลยครับ จะอยู่ที่เราใช้ไม่เข้าใจ คนขายบางคนก็ไม่เข้าใจและอธิบายไม่ถูก ส่วนเครืองระบบ AC/DC
AC คือ เครื่องเชื่อมระบบที่ใช้กับการเชื่อมอะลูมิเนียมซื่งเครื่องเล็กจะมี 2 ระบบและ3 ระบบ 2ระบบคือการเชื่อมอะลูมิเนียมกับเชื่อมอาร์กอน ส่วน 3 ระบบก็คือ เชื่อมอะลูมิเนียม เชื่อมอาร์กอน และเชื่อมเหล็ก การที่จะเลือกเครื่องเชื่อม ถ้าเราเป็นช่าง ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่มี Amตั้งแต่ 200Amขึ้นไป และต้องเป็น 200Amจริง เพราะมีบางยี่ห้อใช้ 160Am แล้วจูนปรับเปลี่ยนให้เป็น 200Am ซึ่งผู้ซื่ออย่างเราอาจจะไม่รู้ เราเป็นช่างควรซื้อตั้งแต่ 200AMนะครับ ราคาแตกต่างกันนิดเดียว บางยี่ห้อขาย 160Am แพงกว่า 200Amซะอีก เพราะขายแต่ชื่อที่ติดตลาดมานาน เราควรที่จะศึกษาและสอบถามตามท้องตลาดเอา ของดีแต่ราคาถูกก็มีนะครับ
- ตู้เชื่อม ARC หรือ MMA ก็คือเครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมเหล็ก เครื่องเชื่อมไฟฟ้า จะเป็นเครื่องเชื่อมที่มีระบบ Transformer (ระบบหม้อแปลง) และ Inverter (ระบบอินเวอร์เตอร์) ระบบหม้อแปลง จะมีน้ำหนักมาก ราคาถูก เราสังเกตุง่ายๆคือน้ำหนักจะมากและกินไฟ ในท้องตลาด มีบางยี่ห้อ เครื่องเชื่อมเป็นระบบหม้อแปลง(Transformer)แท้ๆแต่ดันไปคิดว่าเป็นระบบ Inverter (ระบบอินเวอร์เตอร์) อาจจะเป็นเพราะร้านยังไม่เข้าใจ ฟังแต่ผู้ขายแล้วบอกต่อ เราเป็นช่างหรือใช้งานมากก็ควรจะใช้ 200Amขึ้นไป บางยี่ห้อจะขายแต่ตัวเล็ก 140,160,180 Am นั้นสำหรับคนที่เชื่อมเป็นและใช้งานนิดหน่อย แต่ถ้าเป็นช่างควรใช้ตั้งแต่ 200,250,400,500 Amขึ้นไปครับ สำหรับเครื่อง ARC ราคา 140,160,180 Am ราคาแทบไม่แตกต่างจาก 200Am เลยครับ
- ตู้เชื่อม MIG เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้วิธีการป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องเลย แตกต่างจากเครื่องอาร์กอน เครื่อง MIG จะใช้ก๊าซ Co2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอะลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน ส่วนจะเชื่อมอะลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) ซึ่งต้องปรึกษาช่างหรือผู้รู้ เพราะบางทีผู้ขายก็ไม่รู้เหมือนกัน
- เครื่องตัดพลาสม่า CUT คือเครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) ก็จะมีหลายรุ่น แต่ถ้าเราเป็นช่างก็ควรใช้ตั้งแต่ CUT 40 ขึ้นไปครับ ซึ่งจะตัดได้ตั้งแต่ 0.3-12mm แต่ต้องขึ้นอยู่กับหัวตัดด้วยเพราะว่ามีหลายรุ่น และหลายเกรด
หัวตัด CUT 40 ใช้ PT 31,PCH 35 (SG53,SG55,P80)
CUT 60 ใช้ SG51,SG53,SG55(P80)หรือแล้วแต่คนขาย
CUT 80 ใช้ P80 หรือแล้วแต่คนขาย
CUT 100 ใช้ P80 หรือแล้วแต่คนขาย
เรื่องสแปรพาส ควรเลือกอย่างดี เพราะจากประสบการณ์ เครื่อง CUT60 จะตัดได้ถึง 25mm. แต่ผู้ใช้บางรายนำไปตัด 8mm. ไม่เข้า แถมมีขี้มากอีกด้วย สอบถามได้ความว่าหัว TIP+ELECTRODE เป็นเกรดต่ำ และเมื่อเปลี่ยนไปใช้สแปรพาสคุณภาพสูง ปรากฏว่า ตัดได้สวยและไม่มีขี้ด้วย สแปรพาสเกรดดีหรือไม่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญนะครับ
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก Rilon
จำหน่าย เครื่องมือช่าง และ เครื่องมืออุตสาหกรรม เครื่องมือ DIY อุปกรณ์บ้าน และ สวน ที่เต็มไปด้วยคุณภาพและความทนทานในราคาที่คุ้มค่า มองหา เครื่องมือช่างของแท้ 100% นึกถึง Talaytools ร้านเครื่องมือช่างใกล้ตัวคุณ